วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประวัติจังหวัดตาก
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประวัติจังหวัดตาก

สี่มหาราช สี่พระองค์ king_ole
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จังหวัดตาก เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคกลางตอนบนของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีอาณาเขตติดต่อถึง 9 จังหวัด เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพัน
ปีขึ้นไป เมื่อมีการอพยพของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้านอำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก” ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุคนั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (ระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์ โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับกล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2
ศาลหลักเมือง จังหวัดตาก(ศาลหลักเมืองสี่มหาราช)
ศาลหลักเมืองสี่มหาราช จังหวัดตาก
ศาลหลักเมืองสี่มหาราช จังหวัดตาก
ศาลหลักเมืองสี่มหาราช จังหวัดตาก
ศาลหลักเมืองสี่มหาราช จังหวัดตาก

ศาลหลักเมืองสี่มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของจังหวัดตาก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เมืองตากเป็นเมืองเก่าแก่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ที่มีมหาราชเจ้าในอดีตได้เสด็จมชุมนุมกองทัพที่เมืองตาก ถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง แล้วทรงกองทัพกลับพระราชอาณาจักไทยโดยเสด็จผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และโปรดให้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน
และที่สำคัญที่สุดก็คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงได้รับพระราชโองการจากพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งพระมหากษัตริย์ที่เสด็จมายังเมืองตากทั้ง 4 พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและทรงกระทำประโยชน์ต่อแผ่นดินไทยเป็นอย่างยิ่ง ชาวตากจึงสร้างอนุสาวรีย์ศาลหลักเมืองสี่มหาราชขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตากสืบไป

คำขวัญประจำจังหวัดตาก
ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม
****************************************************************************************


ตราประจำจังหวัด
รูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างเหนือครุฑหลั่งน้ำทักษิโณฑก

ตราจังหวัดตาก
ตราจังหวัดตาก
หมายถึง  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีรบอังวะนั้น พระมหาอุปราชเมืองพม่า สั่งให้ทหารคู่ใจคอยตี ขนาบ และปลงพระชนม์เสียให้ได้ ความแตกรู้ถึงพระกรรณสมเด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง จึงทรงประชุมชาวเมือง และบรรดาแม่ทัพนายกอง เมื่อเดือน 2 ปีวอก พ.ศ. 2127 ทรงหลั่งน้ำทักษิโณฑกเหนือแผ่นดิน ประกาศอิสระภาพไม่ยอมขึ้นกับเมืองอังวะ อีกต่อไป จังหวัดตากเป็นด่านแรก ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง ยกกองทัพกลับเข้ามาถึงราชอาณาจักรไทย เช่นเดียวกับที่เมืองนี้เคยเป็นทางผ่าน ที่ชาวอินเดียเดินทางเข้าเมืองไทยในสมัยโบราณ
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก ไม้แดง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก ไม้แดง
ต้นแดง ต้นไม้ประจำจังหวัด ตาก
ชื่อพันธุ์ไม้ : แดง
ชื่อสามัญ : Iron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กร้อม (ชาวบน-นครราชศรีมา), ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะลาน จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แดง (ทั่วไป), ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี), ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (ศรีษะเกษ), ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก), สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝักรูปไต แบน แข็ง
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด
ถิ่นกำเนิด : เป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งทั่วๆ ไป
ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก
เสี้ยวดอกขาว
เสี้ยวดอกขาว
ดอกเสี้ยวดอกขาว
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ตาก
ชื่อดอกไม้ : ดอกเสี้ยวดอกขาว
ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia variegata L.
วงศ์: LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : เสี้ยวป่าดอกขาว
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 5–10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6–10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วง เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิ: อินเดีย, มาเลเซีย

สภาพทั่วไปของจังหวัดตาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดตาก ตั้งอยู่ในภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา 50 ลิปดา 36 ฟิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 7 ลิปดา 22 ฟิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล 116.2 เมตร (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดตาก) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามระยะทางทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ประมาณ 426 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 16,406.65 ตร.กม. หรือประมาณ 10,324,156.25 ไร่ ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นป่าไม้และภูเขา มีทิวเขาถนนธงชัย เป็นตัวแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง ตากฝั่งตะวันออก คือ อ.เมือง อ.บ้านตาก อ.สามเงา กิ่ง อ.วังเจ้า และตากฝั่งตะวันตก คือ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด อ.พบพระ อ.ท่าสองยาง อ.อุ้มผาง แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อ.เมือง อ.บ้านตาก อ.สามเงา อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด อ.พบพระ อ.ท่าสองยาง อ.อุ้งผาง และกิ่ง อ.วังเจ้า

มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่างๆ 9 จังหวัด และ 1 ประเทศ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดกาญจนบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ภูมิประเทศ
          สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของจังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าไม้ และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงเป็นทิวเขาถนนธงชัยสูงสลับซับซ้อน จังหวัดตากแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

ด้านตะวันออก ประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ เมืองตาก บ้านตาก สามเงา และกิ่งอำเภอวังเจ้า มีพื้นที่รวม ทั้งสิ้น 5,692.68 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,557,925 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 34.70 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ลักษณะภูมิภาคด้านนี้ ประกอบด้วยภูเขาสูง ประมาณร้อยละ 65 ของพื้นที่ ซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณ

ด้านตะวันตก ประกอบด้วย 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สอด แม่ระมาด ท่าสองยาง พบพระ และอำเภออุ้มผาง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 10,713.97 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,696,231.25 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 65.30 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ลักษณะภูมิภาคด้านนี้ประกอบด้วยภูเขาสูงประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ ปกคลุมไปด้วยป่าโปร่ง ป่าดงดิบ และป่าสน

ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ ภูเขาถนนธงชัย เขาหลวงและเขาพะเมิน แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกลอง แม่น้ำเมย คลองวังเจ้า และ ห้วยแม่ละเมา พื้นที่ป่าไม้รวม 7,182,562 ไร่ หรือร้อยละ 70.05 ของพื้นที่จังหวัด มีป่าสงวนแห่ง ชาติ 15 ป่า แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ แร่แกรนิต สังกะสี และหินปูน
ภูมิอากาศ

เนื่องจากจังหวัดตากมีสภาพภูมิประเทศแบ่งออกเป็นสองซีก คือ ตะวันออกและตะวันตก โดยมีเทือกเขาถนนธงชัยแบ่งกลาง ทำให้ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดแตกต่างกันไปด้วย เนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัยเป็นตัวปะทะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน ทำให้ซีกตะวันออกจะได้รับความชื้นจากลมมรสุมไม่เต็มที่ ขณะที่ฝั่งตะวันตกจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมมากกว่า ทำให้ปริมาณฝนตกในซีกตะวันตกโดยเฉพาะในที่ที่อยู่ในเขตภูเขา เช่น อำเภอท่าสองยาง อำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง อากาศจะหนาวเย็นมากกว่าซีกตะวันออก

.

สภาพอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
          ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึง กลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึง เดือนตุลาคม โดยฝนจะตกทางด้านตะวันตกมากกว่าด้านตะวันออก เนื่องจากอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุมและดีเปรสชั่น นอกจากนี้ด้านตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้สูงกว่าด้วย ทำให้เก็บความชุ่มชื่นได้เป็นอย่างดี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนถึง เดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

ฝน
          ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของจังหวัดตาก ระหว่างปี 2535 ถึง 2545 จะอยู่ ในช่วง 651.10 มม. ถึง 1,556.30 มม. ฝนตกมากที่สุดในปี 2542 วัดได้ถึง 1,556.30 มม. จำนวนวันฝนตก 154 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุด ในปี 2536 วัดได้ 651.10 มม. จำนวนวันฝนตก 93 วัน



อุณหภูมิ
          ในช่วงระหว่างปี 2535 ถึง 2545 จังหวัดตากมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 27.73 องศาเซลเซียส ถึง 29.31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดค่าเฉลี่ยปานกลาง 18.38 องศาเซลเซียส ถึง 20.23 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 5.7 องศาเซลเซียส เมื่อเดือน มกราคม 2517 และอุณหภูมิสูงสุดค่าเฉลี่ยปานกลาง 36.16 องศาเซลเซียส ถึง 38.38 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อเดือน มีนาคม 2506
ความชื้นสัมพัทธ์
          ในช่วงระหว่างปี 2535 ถึง 2545 จังหวัดตากมีความชื้นเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 69 เปอร์เซ็นต์ ถึง 71.8 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นเฉลี่ยต่ำสุดปานกลางอยู่ในช่วง 28 เปอร์เซ็นต์ ถึง 36 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นสัมพัทธ์ค่าเฉลี่ยสูงสุดปานกลาง 92 เปอร์เซ็นต์ ถึง 96 เปอร์เซ็นต์
แหล่งน้ำ
          แม่น้ำปิง ต้นน้ำอยู่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ไหลผ่าน อ.สามเงา อ.บ้านตาก และอ.เมืองตาก ตามลำดับ เป็นแม่น้ำสายใหญ่มีน้ำไหลตลอดปี ไหลผ่านที่ราบตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของจังหวัดตาก มีระยะทาง 580 กม.
แม่น้ำวัง ต้นน้ำอยู่ที่ จ.ลำปาง ไหลผ่าน อ.สามเงา และอ.บ้านตาก ไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้านปากวัง อ.บ้านตาก จ.ตาก ทำให้เกิดที่ราบดินตะกอนค่อนข้างกว้างเป็นแหล่งการเพาะปลูกอีกแหล่งหนึ่ง มีระยะทาง 335 กม.
แม่น้ำกลอง ต้นน้ำคือ ขุนห้วยแม่กลองคี อ.อุ้มผาง ไหลลงไปทางตอนใต้ไปยัง จ.กาญจนบุรี มีน้ำไหลตลอดปี ไหลผ่านหุบเขาสูงชันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมน้อย
ห้วยแม่ท้อ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ได้ในฤดูฝนและฤดูหนาว ในฤดูแล้งจะแห้งขอดเป็นช่วง ๆ
คลองวังเจ้า ต้นน้ำเกิดจากน้ำตกแม่ย่า ไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้านวังเจ้า กิ่งอ.วังเจ้า เป็นลำน้ำสายสั้น มีน้ำตลอดปี ไหลผ่านหุบเขาสูงชันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกดพื้นที่เกษตรกรรมน้อย
แม่น้ำเมย ต้นน้ำอยู่ในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ไหลผ่าน อ.พบพระ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง ตามลำดับ ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า ยาวประมาณ 850 กม. แม่น้ำสายนี้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้มากนัก เพราะในฤดูแล้งน้ำจะน้อยและอยู่ต่ำกว่าฝั่งมาก
ห้วยวาเล่ย์ เป็นลำห้วยที่อยู่ทางตอนใต้ของ อ.พบพระ มีแนวทางการไหลของน้ำจากทิศเหนือลงสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และวกขึ้นทิศเหนือมาบรรจบกับแม่น้ำเมย
แม่น้ำยวม มีต้นกำเนินมาจากเทือกเขาบริเวณ อ.ขุนยวม และมีแนวทางการไหลของน้ำจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ และวกลงทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมย แม่น้ำยวมเป็นแนวกั้นเขตระหว่าง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กับ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
ห้วยแม่ละเมา เป็นลำห้วยขนาดใหญ่ ที่มีน้ำไหลตลอดปี มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสูงทางด้านทิศตะวันออก มีทิศทางการไหลของน้ำในแนวทิศใต้ และวกกลับขึ้นสู่ทิศเหนือไหลลงแม่น้ำปิงตอนเหนือของเขื่อนภูมิพล
คลองแม่ยะเมา มีน้ำไหลตลอดปี มีทิศทางการไหลของน้ำในแนวทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก และไหลลงสู่แม่น้ำปิง
กล่าวโดยสรุปจังหวัดตากมี แม่น้ำ ห้วย ลำธาร คลอง รวม 577 สาย ซึ่งในจำนวนนี้มีที่ใช้งานได้ในฤดูแล้ง 574 สาย มีหนองบึง 57 แห่ง ที่มีสภาพใช้งานได้ในฤดูแล้ง 57 แห่ง มีน้ำพุ น้ำซับ 26 แห่ง ที่มีสภาพใช้งานได้ในฤดูแล้ง 25 แห่ง และอื่นๆ 39 แห่ง ที่มีสภาพใช้งานได้ในฤดูแล้ง 39 แห่ง
ป่าไม้
          ในปี 2528 จังหวัดตากมีเนื้อที่ป่าไม้ 7,839,375 ไร่ หรือประมาณ 76.45 % ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด เนื้อที่ป่าถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนเหลือ 7,760,325 ไร่ ในปี 2543 หรือประมาณ 75.68 % ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัด ในปี 2530 มีป่าสงวนแห่งชาติ 15 ป่า เนื้อที่ (ตามประกาศกฎกระทรวง) 7,567,768 ไร่ คิดเป็น 73.80 % ของเนื้อที่จังหวัด

จำนวนและพื้นที่ของป่าไม้จำแนกตามประเภทของป่า

.

จำนวนและพื้นที่ของป่าไม้จำแนกตามประเภทของป่า
ประเภทป่า
จำนวน (แห่ง)
พื้นที่ (ไร่)
1. อุทยานแห่งชาติ
6
560,625
2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
5
3,798,967
3. ป่าสงวนแห่งชาติ
15
7,567,768
รายชื่ออุทยานแห่งชาติ
รายชื่อ
อยู่ในเขตพื้นที่
เนื้อที่ทั้งหมด
เนื้อที่ภายใน จ.ตาก
1. อุทยานแห่งชาติลานสางอ.เมืองตาก
65,000
65,000
2. อุทยานแห่งชาติแม่ปิงอ.สามเงา
626,875
199,200
3. อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราชอ.เมืองตาก อ.แม่สอด
93,125
93,125
4. อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้ากิ่ง อ.วังเจ้า
466,875
85,500
5. อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญอ.แม่สอด
2,000
2,000
6. อุทยานแห่งชาติแม่เมยอ.ท่าสองยาง
115,800
115,800
รายชื่อป่าสงวนแห่งชาติ
รายชื่อ
อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอ
เนื้อที่ทั้งหมด(ไร่)
  1. ป่าลานสาง  อ.เมืองตาก
41,831
  2. ป่าประจำรักษ์  อ.เมืองตาก
164,875
  3. ป่าประดาง-วังเจ้า  กิ่งอ.วังเจ้า อ.เมืองตาก
302,556
  4. ป่าแม่ท้อ-ห้วยตากฝั่งขวา  อ.เมืองตาก อ.บ้านตาก
370,150
  5. สวนป่ารุกขชาติกิตติขจร  อ.เมืองตาก
768
  6. ป่าแม่สลิด-โป่งแดง  อ.เมืองตาก อ.สามเงา อ.บ้านตาก
566,377
  7. ป่าแม่ตื่น  อ.บ้านตาก อ.สามเงา
166,875
  8. ป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง  อ.สามเงา
187,500
  9. ป่าแม่ละเมา  อ.แม่สอด
354,687
10. ป่าแม่สอด  อ.พบพระ อ.แม่สอด
697,750
11. ป่าแม่ระมาด  อ.แม่ระมาด
412,487
12. ป่าท่าสองยาง  อ.ท่าสองยาง
1,273,375
13. ป่าช่องแคบ แม่โกนเกน  อ.พบพระ อ.แม่สอด
120,625
14. ป่าแม่กลอง อุ้มผาง  อุ้มผาง
2,865,000
15. ป่าสามหมื่น  อ.แม่ระมาด
170,468


แร่ธาตุ
          จังหวัดตาก มีเหมืองแร่ที่มีสัมปทานและเปิดทำการแล้ว 48 แห่ง  และมีรายได้จำนวน 38,917,875.92 บาท แร่ธาตุที่สำคัญ คือ แกรนิตแร่สังกะสี เฟลด์สปาร์ หินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ถ่านหิน และหินอ่อน เป็นต้น
ชนิดแร่และแหล่งที่พบในจังหวัดตาก
ชนิดแร่
แหล่งที่พบ
  1. แร่แบไรท์ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด
  2. แร่ควอทซ์ ตำบลท้องฟ้า อำเภอบ้านตาก
  3. แร่เฟลด์สปาร์ ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก
  4. แร่ดีบุก ตำบลแม่สอด และตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง
  5. แร่พลวง ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด
  6. แร่สังกะสี ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด
  7. แร่ฟลูออไรท์ ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก
  8. แร่ถ่านหินลิกไนท์ ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด , ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด
  9. หินอ่อน ตำบลหนองบัวเหนือ อำเภอเมืองตาก
10. หินแกรนิต ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก , ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก
11. หินปูน ตำบลป่ามะม่วง และตำบลแม่ท้อ อำเภอเมืองตาก
การเมืองการปกครองจังหวัดตาก
สถิติจำนวนประชากรและบ้านของจังหวัดตาก
จังหวัดตากมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 521,300 คน โดยอำเภอวังเจ้า มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด จำนวน 94.91 คน/ตร.กม. รองลงมา คือ อำเภอเมืองตาก มีความหนาแน่นของประชากร จำนวน 62.36 คน/ตร.กม. และอำเภออุ้มผาง มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด จำนวน 6.63 คน/ตร.กม.
จังหวัดตากแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 63 ตำบล 559 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 18 เทศบาล 50 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยอำเภออุ้มผาง เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุด รองลงมา คือ อำเภอสามเงา และอำเภอแม่สอด ส่วนอำเภอวังเจ้า มีพื้นที่น้อยที่สุด อำเภอที่มีจำนวนหมู่บ้านมากที่สุด คืออำเภอเมืองตาก รองลงมา คือ อำเภอแม่สอด และอำเภอบ้านตาก ส่วนอำเภอวังเจ้า   มีหมู่บ้านน้อยที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น