วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รายงานพิเศษ.....โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า คู่ ขนาน แห่งที่ 1 ส่งเสริมการค้า-การลงทุน-การท่องเที่ยว –ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ เศรษฐกิจรายได้ชุมชนคนท้องถิ่น


รายงานพิเศษ.....
โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า คู่ ขนาน แห่งที่ 1 ส่งเสริมการค้า-การลงทุน-การท่องเที่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ เศรษฐกิจรายได้ชุมชนคนท้องถิ่น.....




รายงานพิเศษ.....โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า คู่ ขนาน แห่งที่ 1 ส่งเสริมการค้า-การลงทุน-การท่องเที่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ เศรษฐกิจรายได้ชุมชนคนท้องถิ่น.....ทีมข่าวพัฒนาบ้านเมืองและเศรษฐกิจชุมชน ..รายงาน
จากการที่รัฐบาล ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนการพัฒนานครแม่สอดเป็นเขตปกครองพิเศษและเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ นายกรัฐมนตรี พร้อมรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหลายคนคนฝ่ายได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบความพร้อมของ นครแม่สอดเพื่อเป็นประตู AEC โดยสั่งการให้ นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายปรีชา ใจเพชร นายอำเภอแม่สอด-ดร.เทอดเกียรติ ชินสรนันท์  หรือ ดร.นายกฝอ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด  รวมทั้งหน่วยงานราชการ ที่อยู่ในพื้นที่ ได้ประสานงานอย่างใก้ลชิดกับรัฐบาลและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ได้ลงพื้นที่การจัดเตรียมเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ซึ่งรัฐบาลเตรียมสนับสนุนงบประมาณจำนวนหลายพันล้านบาทในเบื้องต้นเพื่อนำมาพัฒนา นครแม่สอดเช่นโครงการก่อสร้างถนน 4 เลน,โครงการขยายสนามบินนครแม่สอด,โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า คู่ขนานแห่งที่ 1 เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน-การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคอื่นๆ-การท่องเที่ยวระหว่างประเทศและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศ และสิ่งสำคัญคือการสร้างเศรษฐกิจรายได้ของชุมชนของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นริมเมย ชาวบ้านตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ที่จะมีรายได้ ขายสินค้า-ข้าวของได้ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทุกสิ่งในการพัฒนานครแม่สอด ประชาชนล้วนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก และจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เรียกว่า กินดี-อยู่ดี-รายได้ดี เศรษฐกิจชุมชนดี เจ้าหน้าที่ระดับสูงตัวแทนจากรัฐบาล กล่าวว่า โครงการการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า คู่ขนาน ข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 1 นั้น เป็นโครงการที่ดีมากท้องถิ่นและประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล เกิดเศรษฐกิจต่อประเทศชาติและขยายไปถึงเศรษฐกิจชุมชน และตามที่มีข่าวว่าจะมีการเวนคืนที่ดินก็ไม่เป็นความจริงเพราะการออกแบบได้วางแผนไว้อย่างละเอียดรอบครอบ เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนและชาวบ้านในบริเวณดังกล่าว และในส่วนของโครงการก่อสร้างอาคารด่านพรมแดน ด่านศุลกากรแม่สอด บริเวณสะพานหนองต้นผึ้ง ก็จะไม่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศน์หรือการทำลายธรรมชาติแต่อย่างใด ทุกสิ่งทุกอย่างที่หน่วยงานจะทำนั้น ยึดหลักความถูกต้องและผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก และยึดหลักการการดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาให้ นครแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจและเขตการปกครองพิเศษนครแม่สอดรองรับการเป็นประตู AEC อย่างสมบรูณ์แบบที่สุด และยังเป็นการพัฒนาเส้นทางสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก อิสเวตส์อิโคโนมิคคอริดอร์  EWEC อีกด้วย ///////////// **จากกลางปี 2554 น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ได้ขึ้นดำรงนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น    ในอำเภอแม่สอด รวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หอการค้าจังหวัดตาก-สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก        นักธุรกิจ ได้เดินทางเข้าพบเพื่อขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนครแม่สอดและเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด โดยขอให้ดำเนินการควบคู่พร้อมๆกัน ตามนโยบายเดิมของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร   และจากการที่พม่าได้มีการปิดด่านพรมแดนเมียวดี มาเป็นระยะเวลากว่า 1ปีเศษ และรัฐบาลชุดที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการติดต่อเจรจาเพื่อให้พม่าเปิดพรมแดนได้ แต่เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้บริหารประเทศเพียงไม่กี่เดือน ก็สามารถเจรจากับรัฐบาลพม่าได้ด้วยดีจากบทบาท และหน้าที่ของการเป็นผู้นำประเทศที่ดีที่เดินทางไปเยือน                                            พล.อ.เต็งเส่ง ประธานาธิบดีของพม่า จนนำไปสู่การเปิดด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 จากการประสานงานของ ดร.สุรพงษ์ โตวิจักรชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ                               ดร.พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นอกจากนี้พม่ายังถือโอกาสในการเปิดพรมแดนครั้งนี้ทำพิธีเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี อย่างเป็นทางการ  และเมื่อพม่าเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ที่อยู่ตรงข้ามและทำการค้าชายแดนกับ อ.แม่สอด ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของ                                ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนโยบายเดิมของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ได้นำเรื่องการพิจารณาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด กลับมาเร่งดำเนินการเพราะเป็นแนวคิดและแนวทางดั้งเดิมของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร -รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ภายใต้การนำของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  โดยจะยึดแนวทางการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิเศษ นครแม่สอดและเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด   ควบคู่กันไปเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และความต้องการของประชาชน-ภาครัฐและเอกชนในพื้นที่แม่สอด  เพื่อรองรับให้ นครแม่สอดเป็นเมืองเศรษฐกิจการค้าชายแดน-การลงทุน-การท่องเที่ยวระหว่างประเทศศูนย์กลางภูมิภาคบนระเบียงเศรษฐกิจเส้นทางสายตะวันออก-ตะวันตก         East-West Economic Corridor (EWEC) เป็นพื้นที่รองรับประชาคมอาเซียน  ที่จะเกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2558///***ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ*** (กรุงเทพโพลล์) เปิดผลสำรวจ เรื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้า" พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 56.75 เพิ่มขึ้น 11.57 จุด และเป็นระดับที่สูงกว่า 50 เป็นครั้งแรกนับจากการสำรวจในเดือนมกราคม ปี 2555 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในสถานะแข็งแกร่งจากปี 2555 ที่เศรษฐกิจอยู่ในสถานะอ่อนแออย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยสถานะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งได้รับผลดีในหลายปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวจากต่างประเทศและการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ  ส่วนปัจจัยการส่งออกสินค้าเป็นปัจจัยเดียวที่ยังอยู่ในสถานะที่อ่อนแอ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ในระดับ 59.94 และเมื่อมองออกไปในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ในระดับ 63.82 หมายความว่า นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 3-6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน โดยมีการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้งนี้ การที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของไทยที่สดใส สำหรับประเด็นเศรษฐกิจใน 3-6 เดือนข้างหน้าที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วงมากที่สุด และอยากให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลเป็นพิเศษ มีดังนี้ 1. ประเด็นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทที่จะส่งผลให้ต้นทุนการประกอบการเพิ่มสูงขึ้น และกระทบกับธุรกิจ SMEs โดยตรงและอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานในอนาคตได้ (ร้อยละ 33.9) 2. การใช้จ่ายเงินในโครงการประชานิยมต่างๆ (โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว) อาจนำมาซึ่งปัญหาหนี้สาธารณะในอนาคต (ร้อยละ 19.6) 3. ปํญหาค่าเงินบาทผันผวนจนอาจส่งผลกระทบต่อภาคส่งออก (ร้อยละ 10.7) 4. ปัญหาราคาสินค้า ค่าครองชีพ หรืออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น (ร้อยละ 10.7) 5. ปัญหาหนี้ส่วนบุคคลและหนี้ของครัวเรือนที่เริ่มเห็นสัญญาณของปัญหา (ร้อยละ 10.7) 6. ปัญหาอื่นๆ เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การเบิกจ่ายงบประมาณ เศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมือง เป็นต้น
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง จำนวน 60 คน โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1825 ม.ค. ที่ผ่านมา

ทีมข่าว
พัฒนาพัฒนาบ้านเมืองและเศรษฐกิจชุมชน ....รายงาน****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น